โครงการธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 8
- “รักษ์บวร รักษ์ศีล 5”
- ถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2563
1. หลักการและเหตุผล
สืบเนื่องจากเทศกาลเริ่มพุทธศักราช 2563 คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย จึงได้ประสานความร่วมกับ องค์การพุทธโลก (พล), องค์กรทางพระพุทธศาสนา ภาคีเครือข่ายคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน 30 องค์กร ร่วมกันดำเนินงาน “โครงการ ธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 8 รักษ์บวร รักษ์ศีล 5 ถวายเป็นพุทธ-บูชา และบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2563” ขึ้น โดยกำหนดดำเนินโครงการฯ ระหว่างวันที่ 2 - 31 มกราคม พ.ศ.2563 ในพื้นที่ 6 จังหวัด ตามเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ ประกอบด้วย จังหวัดปทุมธานี, จังหวัดนนทบุรี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดนครปฐม, และกรุงเทพมหานคร ด้วยรูปแบบกิจกรรม “รักษ์บวร รักษ์ศีล 5” เพื่อสืบสานวีถีวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง สืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ทั้งยังเป็นการหนุนเสริมการขับเคลื่อนภารกิจของคณะสงฆ์ ในด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ และด้านสาธารณูปการ
ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้คณะสงฆ์ เยาวชน ประชาชน และภาคีเครือข่ายฯ ได้ร่วมทำกิจกรรม “ธรรมยาตรา” ถวายสังฆทาน สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ส่งเสริมศีลธรรม สร้างความเป็นสิริมงคล ต้อนรับเทศกาลขึ้นปีใหม่ รู้รักสามัคคี ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับคืนสู่ “บ ว ร” คือ “บ้าน วัด โรงเรียน” อย่างยั่งยืน ฝึกประชาชนให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนตามหลักธรรม “อปจายนมัย” ทำให้สังคมไทย สงบสุข ยั่งยืนด้วยบารมีธรรมของพระพุทธองค์
2. วัตถุประสงค์
- เพื่อน้อมถวายเป็น “พุทธบูชา” เนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ สืบสานวีถีวัฒนธรรมชาวพุทธให้เข้มแข็ง สืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
- เพื่อบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ “พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)” หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ในเส้นทางพระผู้ปราบมาร (เส้นทางซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับชีวประวัติของพระมงคลเทพมุนี ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันสถาปนาขึ้นรวม 7 แห่ง)
- เพื่อสร้างศาสนทายาทและเป็นกิจกรรมให้พระภิกษุบวชใหม่ได้ฝึกตนตามพุทธวิธี เป็นศาสนทายาทที่ดีแก่พระพุทธศาสนาและเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศแก่พุทธศาสนิกชน
- เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งด้านศีลธรรมตามหลัก “บวร” ผ่านการสร้างภาคีเครือข่ายคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม “รักษ์บวร รักษ์ศีล 5” ในพื้นที่ดำเนินงานฯ
- เพื่อส่งเสริมศีลธรรม สร้างเสริมศรัทธาที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา และพระรัตนตรัย แก่เยาวชน ประชาชน และภาคีเครือข่ายฯ เสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับประเทศชาติ
- เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนภารกิจของคณะสงฆ์ ในด้านการเผยแผ่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ และด้านสาธารณูปการ
3. เป้าหมาย
ปริมาณ
- พระภิกษุธรรมยาตรา 1,136 รูป
- เยาวชน และประชาชน ในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมประมาณร้อยละ 40
คุณภาพ
- ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจในกิจกรรมวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธ และนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “ทาน ศีล ภาวนา” ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดความสุข
4. ผู้รับผิดชอบ
- คณะสงฆ์ 6 จังหวัด ในเส้นทางธรรมยาตรา
- คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย
- มูลนิธิธรรมกาย
- ชมรมรักษ์บวร รักษ์ศีล 5 ปทุมธานี ในอุปถัมภ์ธรรมรัตนาภรณ์
- องค์การพุทธโลก (พล)
- ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
- องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก (V-PEACE)
- หน่วยงานทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เข้าร่วมโครงการฯ
- โรงเรียนและสถาบันการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการฯ
- ภาคีเครือข่าย “บ ว ร” 6 จังหวัด ในเส้นทางธรรมยาตรา
5. ระยะเวลาดำเนินการ
- ช่วงเตรียมงาน: เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2562
- ช่วงพระภิกษุธรรมยาตราฯ: ระหว่างวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2563 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2563
- ช่วงประชาชน เยาวชน และภาคีเครือข่ายฯ เข้าร่วมกิจกรรมธรรมยาตราฯ: ระหว่างวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 มกราคม พ.ศ.2563
6. สถานที่ดำเนินงาน
ภายในอนุสรณ์สถาน “เส้นทางพระผู้ปราบมาร” คือ เส้นทางซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับชีวประวัติของ “พระมงคลเพทมุนี (สด จนฺทสโร)” หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย พระผู้ปราบมาร ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันสถาปนาขึ้น 7 แห่ง ดังนี้
- มหาวิหารบ้านเกิดพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร): สถานที่เกิดด้วยรูปกายเนื้อ ตั้งอยู่บนแผ่นดินรูปดอกบัว อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- อนุสรณ์สถานคลองบางนางแท่น: สถานที่ตั้งมโนปณิธานว่าจะบวชตลอดชีวิต ตั้งอยู่ริมคลองบางนางแท่น อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- พระอุโบสถวัดสองพี่น้อง (พระอารามหลวง): สถานที่เกิดใหม่ในเพศสมณะ ตั้งอยู่วัดสองพี่น้อง (พระอารามหลวง) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
- อนุสรณ์สถานวัดโบสถ์บน: สถานที่เกิดใหม่ด้วยกายธรรม ตั้งอยู่วัดโบสถ์บน ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนครปฐม
- อนุสรณ์สถานบางปลา: สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายครั้งแรก ตั้งอยู่บนแผ่นดินตรงข้ามวัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- วัดปากน้ำ (พระอารามหลวง): สถานที่ค้นคว้าและเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ตั้งอยู่วัดปากน้ำ (พระอารามหลวง) เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
- มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร): สถานที่ขยายวิชชาธรรมกาย ตั้งอยู่วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
รวมถึง วัด โรงเรียน ชุมชน ในเส้นทางและพื้นที่วงรอบของอนุสรณ์สถานฯ ทั้ง 7 แห่ง
7. วิธีการดำเนินการ
- จัดทำโครงการฯ และกิจกรรม ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในรูปแบบภาคีเครือข่ายฯ ระหว่าง คณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
- ประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการฯ กับภาคีเครือข่ายฯ หน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
- ภาคีเครือข่ายฯ ร่วมกันทำกิจกรรมต้อนรับคณะสงฆ์ ถวายสังฆทาน สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม สืบสานวิถีวัฒนธรรมชาวพุทธ รวมทั้งมอบทุนการศึกษาแก่สถานศึกษา
8. ผู้อุปถัมภ์โครงการ
เครือข่ายคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายทั่วโลก และผู้มีจิตศรัทธา
9. ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
ภาคีเครือข่ายฯ 30 องค์กร ในพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย
- สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว
- สมาคมสื่อสร้างสรรค์เพื่อเยาวชน
- สมาคมส่งเสริมความดีสากล
- สมาคมรวมใจไทยปทุม
- สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
- สมาคมบัณฑิตรัตน์
- สมาคมวิทยุและโทรทัศน์กล้าตะวัน
- สมาคมบัณฑิตสดใส
- สมาคมผู้บริหารท้องถิ่นแห่งประเทศไทย
- สมาคมคนรักพุทธศาสตร์
- สมาคมสร้างสรรค์สังคมไทย
- สมาคมสร้างสรรค์สันติภาพ
- สมาคมเพื่อนแพทย์ไร้พรมแดน
- สมาคมพุทธศาสตร์สัมพันธ์
- สมาคมส่งเสริมศีลธรรมและความดีสากล
- สมาคมพุทธบุตร 60
- มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสตร์
- ศูนย์อบรมเยาวชนนครปฐม
- ชมรมจิตอาสาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ชมรมอุบาสิกาแก้วทั่วไทย
- ศูนย์ปฏิบัติธรรมพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) จังหวัดสุพรรณบุรี
- ศูนย์อบรมเยาวชนพระนครศรีอยุธยา
- ศูนย์อบรมเยาวชนนนทบุรี
- ศูนย์ปฏิบัติธรรมตลิ่งชัน น้ำใส ใจสว่าง
- ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดปทุมธานี
- ชมรมเรารักคลองสาม
- กลุ่มชุมชนสัมพันธ์ปทุมธานี
- ชมรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน ในอุปถัมภ์พระครูวิจิตรอาภากร
- สมาพันธ์หมู่บ้านจัดสรรอำเภอคลองหลวง
- ศูนย์นวัตกรรมรักษ์วัด รักษ์สิ่งแวดล้อม
10. ภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เข้าร่วมโครงการฯ
- หน่วยงานของรัฐ เช่น หน่วยงานราชการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, รัฐวิสาหกิจ, สถานการศึกษา ฯลฯ
- องค์กรภาคเอกชน เช่น โรงแรม, บริษัททัวร์, บริษัท, ห้างร้าน เป็นต้น
- องค์กรภาคประชาสังคมและหน่วยงานการกุศล เช่น มูลนิธิ, สมาคม, สโมสร, ชมรม
- ภาคประชาชน
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ประชาชนชาวไทย ได้สร้างบุญใหญ่ร่วมกัน ได้ตระหนักในหน้าที่ของชาวพุทธ มีศรัทธาในพระรัตตรัย เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา ศีลธรรมโลกได้รับการฟื้นฟู
- เกิดเครือข่าย “บ ว ร” ที่ยั่งยืน ส่งเสริมความเข้มแข็งทางศีลธรรม และเกิดเครือข่าย “ผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านศีลธรรม” ที่มีศีลธรรมพื้นฐานและเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
- คณะสงฆ์และหน่วยงานทางการศึกษา เกิดพลังในการขับเคลื่อนงานด้านศีลธรรมร่วมกันในรูปแบบภาคีเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม สนองนโยบายของคณะสงฆ์และสถานศึกษา
- วัฒนธรรมชาวพุทธที่ดีงามกลับคืนสู่สังคมไทย ตลอดจนมาตรฐานศีลธรรมของเยาวชนไทย เยาวชนโลก และพลโลก ถูกยกระดับให้สูงขึ้น
- ประชาชนเกิดกระแสศีลธรรมขึ้นในจิตใจ เกิดความเป็นสิริมงคลต่อชีวิต มีกำลังใจในการทำสิ่งที่ดีงาม ทั้งต่อตนเอง สังคม ประเทศชาติและพระพุทธศาสนา อย่างมั่นคงและยั่งยืน
12. ศูนย์ประสานงานโครงการฯ
- ศูนย์ประสานงานกลาง: เลขที่ 40 หมู่ 8 ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
- ผู้ประสานงานโครงการฯ: นายองอาจ ธรรมนิทา โฆษกคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายโทรศัพท์ 081-875-4866, องค์การพุทธโลก (พล) โทรศัพท์ 087-502-6888