เทศกาลงานบรรพชาอุปสมบท :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

เทศกาลงานบรรพชาอุปสมบท

เทศกาลงานบรรพชาอุปสมบท

“ชีวิตนั้นฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี ชีวิตสมณะนั้นเป็นหนทางที่ประเสริฐกว่า”

พุทธพจน์

บทนำ

เมืองไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามทั้งหลายของไทยจึงมาจากพระพุทธศาสนาและได้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้น วัฒนธรรมของไทยจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่เป็นแนวปฏิบัติหรือกิจวัตรเท่านั้น แต่มันยังเป็นภาพสะท้อนของความดีงาม ที่มีต้นตอมาจากพระพุทธศาสนานั่นเอง ชาวไทยจึงนิยมให้บุคลที่มีโอกาสเข้าใกล้พระศาสนาได้เป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา การบวชเป็นวัฒนธรรมอันดีงามประการหนึ่งของกุลบุตรไทย แต่การบวชนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การอนุรักษ์แบบแผน หรือประเพณีอันดีงามเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้ผู้บวชได้ยกฐานะของตนเองจากผู้นับถือพระรัตนตรัย เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยอีกด้วย นอกเหนือจากนี้ การบวชจะทำให้ผู้ที่ได้บวชมีเวลาว่างจากภารกิจทางโลก และจะได้ใช้เวลาศึกษาธรรมะอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขสงบ สติปัญญา และความปลอดกังวล อันจะนำมาซึ่งความบริสุทธิ์ ทั้งทางกายและใจ

การบวชสำคัญอย่างไร

ผู้ที่จะมาบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ที่โกนหัวแล้วห่มผ้าเหลืองอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขาจะต้องฝึกฝนตนเองให้เดินตามแนวทางแห่ง ”พระแท้” ตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยะสาวกทั้งหลาย ศีลทั้ง 227 ข้อ ซึ่งเป็นทั้งหลักการและข้อห้ามทั้งหลาย จะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บวชมีความบริสุทธิ์ทั้ง กาย วาจา ใจ และการบวชนั้นเป็นหนทางที่จะก้าวเข้าสู้เส้นทางแห่งความบริสุทธิ์นั่นเอง ดังนั้น การบวชจึงไม่ใช่แค่การแต่งตัวแบบพระ หรือแค่ทำให้มีกินมีใช้ไปวันๆเท่านั้น แต่มันจะเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ได้เลือกที่จะก้าวเดินเข้าไปแสวงหา เมื่อผู้บวชเห็นประโยชน์ดังนี้แล้วเขาจึงตั้งใจฝึกฝนตนเองในการศึกษาธรรมะทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติ เพื่อทำตนให้พ้นจากกองทุกข์ และเพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของการบวชที่ตนเองได้ตั้งใจไว้

ความสุขที่แท้จริงของชีวิต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุทิศพระองค์เพื่อสั่งสอนสรพพสัตว์ทั้งหลายให้เห็นสัจธรรมของโลกใบนี้ว่า มีความเสื่อม, สิ้นไปเป็นธรรมดา พระองค์จึงทรงชี้หนทางแห่งความสุขที่คนทั้งหลายปรารถนาไว้ว่า มีสองประการ กล่าวคือ

  • สามิสสะสุข คือ ความสุขทั่วๆไปที่ต้องอาศัยคน สัตว์ สิ่งของมาปรนเปรอ ให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจ ความสุขเหล่านี้ไม่ยั่งยืนยาวนาน หากถึงที่สุดแห่งความพอใจแล้ว จะนำมาซึ่งความผูกพัน เป็นห่วง กังวล หวง ห่วง อิจฉา ริษยา ผิดหวังและเสียใจเมื่อสิ่งเหล่านั้นได้สูญหายไป
  • นิรามิสะสุข คือ ความสุขที่เที่ยงแท้ยั่งยืน ยาวนาน และไม่กลับมาทุกข์อีก แต่จะนำมาซึ่งความสุขที่ยิ่งๆขึ้นไป ซึ่งละเอียดกว่า ประณีตกว่า คือพระนิพพาน ความสุขเหล่านี้ได้มาจากการปฏิบัติธรรม นั่นเอง

 

 

หากปราศจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว คงจะยากที่จะหาคนมาชี้หนทางแห่งความสุขที่แท้จริงนี้ได้ แม่พระองค์เองยังใช้เวลาถึง 6 ปีในการแสวงหาความสุขที่แท้จริงมาสอนพวกราได้ ดังนั้น พระองค์จึงทรงสรุปว่า ชีวิตฆราวาสเป็นหนทางที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี คือ กิเลส การจะทำตนให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ในเพศฆราวาสนั้นยากกย่างยิ่ง กุลบุตรเมื่อเห็นดังนี้แล้วพึงปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกบวชเพื่อแสวงหาหนทางแห่งความสุขอันแท้จริงเถิด คุณสมบัติของผู้ที่จะบวช ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุได้นั้นต้องเป็นชายผู้นับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งและมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และจะต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้าม ดังต่อไปนี้

  1. เป็นบัณเฑาะว์หรือกระเทย หรืออุภโตพยัญชนก (ผู้ที่มีสองเพศในคนๆเดียวกัน)
  2. จะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้ทำอนันตริยกรรม เช่นฆ่าพ่อ แม่ พระอรหันต์ หรือทำให้พระพุทธเจ้าได้ห้อพระโลหิตมาก่อน และจะต้องไม่เป็นผู้ที่ได้กระทำผิดวินัยสงฆ์อย่างร้ายแรงจนต้องปาราชิก หรือถูกขับไล่ออกจากสงฆ์มาก่อน
  3. ต้องไม่เป็นโรคร้ายแรงอันจะนำมาซึ่งความน่ารังเกียจดังนี้ โรคผิวหนังขั้นร้ายแรง เช่น โรคเรื้อน ฝีดาษ คุดทะราด หรือโรคติดต่อร้ายแรง เป็นผู้พิการทางกายเช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาด้วนไม่เป็น อัมพาต เดินหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นต้น
  4. ต้องเป็นผู้ไม่มีพันธะผูกพัน เช่น หนีทหาร หนีหนี้ หนีคดีความ หรือเป็นผู้ที่ทางการได้รั้งตัวไว้ด้วยเหตุบางประการ หรือเป็นผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง

หน้าที่ความรับผิดชอบของพระภิกษุ จุดประสงค์หลักของการบวชนั้นเพื่อทำความบริสุทธิ์ของตนเองให้ยิ่งๆขึ้นไป โดยที่จะต้องสละตนให้พ้นออกจากเครื่องเหนี่ยวรั้งทางโลกให้ได้มากที่สุด ดังนั้นผู้บวชจึงไม่ได้บวชมาเพื่อหวังลาภสักการะ หรือเพื่อใช้ชีวิตให้รอดไปวันๆเท่านั้น แต่ผู้บวชจะต้องศึกษาธรรมะ ทั้งภาคปริยัติ และ ปฏิบัติ เพื่อมาสั่งสอนตนเอง ให้พ้นจากกองทุกข์ และทำพระนิพพานให้แจ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติ “กิจวัตร” ไว้ให้พระภิกษุได้กระทำ กิจวัตรเหล่านี้มีทั้งสิ่งที่ “ต้องทำ” และ “ควรทำ” พระภิกษุผู้ปฏิบัติกิจวัตรนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้เป็นผู้มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ และจะทำให้มีตบะ คือเครื่องเผากิเลสในใจได้ ในที่สุดกิจวัตรนั้นได้ถูกแบ่งเป็นสิบข้อ ดังนี้คือ

  1. บิณฑบาต
  2. กวาดวัด
  3. ปลงอาบัติ
  4. ทำวัตร สวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา
  5. พิจารณาความไม่งามของตน
  6. ปรนนิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์
  7. ออกกำลังกาย บริหารขันธ์
  8. ศึกษาพระธรรมวินัย
  9. เอาใจใส่สมบัติพระศาสนา
  10. ทำกริยาให้น่ากราบไหว้

 

 

ครั้งหนึ่งในชีวิตลูกผู้ชาย

วัดพระธรรมกายได้จัดการบวชให้มีขึ้นทุกปี ทั้งภาคฤดูร้อนและในตอนเข้าพรรษา ทางวัดจึงได้จัดสถานที่ให้เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่อบรมกุลบุตร ที่จะมาบวชเป็นพระในพระศาสนา และยังปรับหลักสูตรการอบรมเพื่อให้พระได้ใช้เวลาที่มาบวชไปเพื่อความบริสุทธิอย่างแท้จริง ในฤดูเข้าพรรษาของปีนี้ทางวัดได้จัดบวชพระหลายโครงการ โครงการที่ได้จัดขึ้นในตอนนี้ได้แก่ โครงการบวชพระธรรมทายาทเข้าพรรษา ซึ่งจะมีผู้มาบวชถึง 500 รูปด้วยกัน และในภาคนานาชาติ ได้มีการจัดงานบวชของศูนย์สาขาในต่างประเทศอย่างในเมืองโกเธนเบริก ประเทศสวีเดนขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถร่วมอนุโมทนาได้โดยตรงที่วัดหรือศูนญ์สาขาใกล้บ้านท่าน

วัดพระธรรมกายได้จัดการบวชให้มีขึ้นทุกปี ทั้งภาคฤดูร้อนและในตอนเข้าพรรษา ทางวัดจึงได้จัดสถานที่ให้เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่อบรมกุลบุตร ที่จะมาบวชเป็นพระในพระศาสนา และยังปรับหลักสูตรการอบรมเพื่อให้พระได้ใช้เวลาที่มาบวชไปเพื่อความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ในฤดูเข้าพรรษาของปีนี้ทางวัดได้จัดบวชพระหลายโครงการ โครงการที่ได้จัดขึ้นในตอนนี้ได้แก่ โครงการบวชพระธรรมทายาทเข้าพรรษา ซึ่งจะมีผู้มาบวชถึง 500 รูปด้วยกัน และในภาคนานาชาติ ได้มีการจัดงานบวชของศูนย์สาขาในต่างประเทศอย่างในเมืองโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดนขึ้นอีกด้วย ผู้ที่สนใจสามารถร่วมอนุโมทนาได้โดยตรงที่วัดหรือศูนย์สาขาใกล้บ้านท่าน

  • ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการบรรพชาอุปสมบทและอบรมพระธรรมทายาท (ไทย) www.dmycenter.com
  • ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการบรรพชาอุปสมบทและอบรมพระธรรมทายาท (นานาชาติ) www.ordinationthai.org
บทความอื่นๆในหมวดนี้