10 ปี แห่งการหยัดสู้
100 ครั้ง พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด
จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนเป็นเหตุให้พระภิกษุสงฆ์ได้รับอันตราย และมีความยากลำบากในการประกอบศาสนกิจ จนบางวัดต้องประกาศงดออกบิณฑบาต ซึ่งส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพุทธศาสนิกชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โครงการช่วยเหลือพุทธบุตร 238 วัด 3 จังหวัดภาคใต้ (ปัจจุบันมีวัดเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 323 วัด) จึงได้เกิดขึ้นตามดำริของหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2548 ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยใช้ชื่อปัจจุบันว่า “พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด และพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
พิํธีถวายไทยธรรมแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
พระครูปลัดภูเบศ ฌาณาภิญโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “การจัดงานครั้งแรกๆ พระภิกษุในพื้นที่ส่วนใหญ่คิดว่า วัดพระธรรมกายคงจะเหมือนหมู่คณะอื่นๆที่ลงมาแจกข้าวของแล้วทำข่าว พอออกข่าวเสร็จก็เงียบหายไป และพระภิกษุส่วนใหญ่ก็เคยได้อ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่มีการโจมตีหลวงพ่อธัมมชโย โจมตีวัดพระธรรมกาย ด้วยข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมาโดยตลอด ทำให้พระภิกษุส่วนใหญ่ยังเฉยๆอยู่ ต่อเมื่อวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายได้ลงไปจัดงานเป็นประจำทุกเดือน ท่านเหล่านั้นจึงเริ่มเห็นความจริงใจว่า เราตั้งใจไปช่วยพวกท่านจริงๆ และพร้อมหยัดสู้เคียงข้างพวกท่าน ไม่ปล่อยให้พวกท่านสู้อย่างโดดเดี่ยว
ในส่วนของทางราชการ ในช่วงแรกก็มองวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายในทำนองเดียวกับพระภิกษุดังกล่าวข้างต้น คือ เข้าใจว่าวัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกายไปแบบฉาบฉวย แต่เราทราบดีว่าปัญหาต่างๆยังมีอีกมากและยังไม่ได้รับการแก้ไข ถ้าเราจบแบบที่เขาทำๆกัน นั่นหมายถึงว่า พระคงจะอยู่กันอย่างลำบาก ก็ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง พอจัดงานผ่านไป 4 ครั้ง พบว่ายังมีอีก 2 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา คือ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ที่คณะสงฆ์ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง จึงผนวก 2 อำเภอให้เข้ามาร่วมโครงการด้วย และพิธีในครั้งที่ 5 ก็ได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม คือ 238 วัดมาเป็น 266 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ ปัจจุบันขยายเป็น 323 วัด”
พุทธบริษัทสี่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
พิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้
10 ปีแล้ว ที่วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ได้เคียงข้างพุทธบุตร 323 วัด 4 จังหวัดภาคใต้ โดยส่งมอบความช่วยเหลือทั้งปัจจัย, ไทยธรรม, เครื่องอุปโภคบริโภคในทุกๆเดือนไม่เคยขาดเลย ครั้งล่าสุดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 99 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 ณ วัดพุทธภูมิ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รวมมูลค่าความช่วยเหลือกว่า 200 ล้านบาท และยังส่งมอบความช่วยเหลือนี้ไปจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ
ต่อมาเมื่อคณะครูที่ปฏิบัติหน้าที่ต่างได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หลวงพ่อธัมมชโยได้จัดตั้ง “กองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้” เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้คณะครูผู้หยัดสู้รักษาผืนแผ่นดิน โดยจัดให้มีพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2549 ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี และคงจัดต่อเนื่องทุกเดือน จนถึงปัจจุบันเป็นครั้งที่ 63 รวมมอบทุนไปแล้วกว่า 30,000 กองทุน เป็นเงินกว่า 60 ล้านบาท
ผลบุญเป็นของทุกท่าน ผลงานเป็นของทุกคน
พิธีมอบเครื่องอุปโภคบริโภคแก่เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย พร้อมด้วยคณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน องค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน ได้นำข้าวสารอาหารแห้งที่ได้จากโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย ซึ่งจัดมาแล้วกว่า 5 ปี ไปมอบแด่พระสงฆ์, ทหาร, ตำรวจ, ครู, นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกเดือน (ยกเว้นช่วงน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ.2554 ที่นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม) คิดเป็นน้ำหนักรวมข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคที่นำไปช่วยภาคใต้กว่า 4,450 ตัน)
ติดตามรายละเอียดของโครงการได้ที่ www.dmc.tv หรือสอบถามที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1000
ส่งมอบข้าวสารอาหารแห้งจากโครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูปฯ
โอวาท หลวงพ่อธัมมชโย (คุณครูไม่ใหญ่)
“ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ก็จะต้องรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ในเมื่อพุทธบุตรหยัดสู้อยู่ที่ตรงนั้น เราต้องอยู่เคียงข้างท่าน และแทนที่จะออกจากพื้นที่ ควรที่จะชวนหมู่ญาติที่อยู่นอกพื้นที่ให้กลับเข้าไปอยู่พื้นที่ตรงนั้นถึงจะถูกหลักวิชชา เพราะในอดีตพี่น้องผองไทยแม้จะต่างความเชื่อ ต่างวัฒนธรรม ก็อยู่ร่วมกันมาได้อย่างสันติสุข พึ่งไม่นานมานี้เองที่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ที่ผ่านมาชาวพุทธได้ให้โอกาสเพื่อนต่างศาสนิกที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะนับถือศาสนาหรือความเชื่อใดๆ ให้ได้รับความอุ่นใจและได้รับความสะดวกสบาย ในการที่นับถือความเชื่อและศาสนาของตน เพื่อเดินทางไปสู่สันติสุข เพื่อทำความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ตามความเชื่อของตนเอง ชาวพุทธก็ได้ให้โอกาสอย่างนี้มาตลอด ลองศึกษาดูก็ได้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ชาวไทยพุทธอยู่บนผืนแผ่นดินนี้มานาน เพราะพระพุทธศาสนาเกิดก่อนความเชื่อใดๆมานานทีเดียว...
...ลำพังเพียงหมู่คณะวัดพระธรรมกายคงทำได้แค่ระดับหนึ่ง เดือนหนึ่งเราทำได้เพียงครั้งเดียว แต่จริงๆแล้ว อยากทำทุกวัน เพราะทราบดีว่า พุทธบุตรทุกรูปต้องขบฉันทุกวัน อีกทั้งยังมีความจำเป็นหลายๆอย่าง ในการที่ต้องอยู่ตรงนั้น เพราะฉะนั้นที่เราทำเป็นการทำเพื่อแสวงบุญ ทำด้วยความรักพระพุทธศาสนา และเทิดทูนพุทธบุตรที่ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน...”
บทความที่เกี่ยวข้อง: