โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปี 2554 :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปี 2554

โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปี 2554

ระยะเวลาอบรม

  • วันที่ 29 มิถุนายน - 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 (รวม 132 วัน)
  • วันบรรพชา วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ณ ศูนย์อบรมใหญ่วัดพระธรรมกาย
  • วันอุปสมบท วันที่ 10 – 13 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ณ วัดที่อบรมและวัดใกล้เคียง
  • รับประกาศนียบัตร ปิดการอบรม 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2554

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทยให้ดับร้อน ฝ่าภัยวิกฤติไปสู่ความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองต่อไป
  2. เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศได้ร่วมสั่งสมบุญบารมีในโครงการอุปสมบทหมู่ และเป็นแบบอย่างอันดีให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นทั่วประเทศไทย
  3. เพื่อให้ผู้อุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสืบไป

คุณสมบัติผู้เข้าอุปสมบท

  1. เป็นชายแท้อายุ 20 – 60 ปี
  2. จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป
  3. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ และไม่ติดยาเสพติด
  4. ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาขาด เป็นต้น
  5. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสม อยู่นอกร่มผ้าเมื่อครองจีวร
  6. มีคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม

หลักฐานการสมัคร

  1. รูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ใบ
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาหลักฐานการศึกษา จำนวน 1 ชุด
  4. ใบรับรองแพทย์และใบระบุผลการตรวจเลือด

สถานที่อบรมและบรรพชาอุปสมบท

  • วัดอบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ (ปรับปรุงล่าสุด 17 พฤษภาคม พ.ศ.2554)

สมัครที่ศูนย์อบรมใหญ่ ปทุมธานี ได้ที่ หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ ตั้งแต่เวลา 8.30 น.-17.00 น. จนถึงวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2554 จากนั้นจะมีการย้ายที่สมัครไปที่ห้อง SPD

ติดต่อทางโทรศัพท์ หมายเลข 02-831-1234 (ช่วงเวลา 8.30น.-18.30น.) หมายเลข 08-7707-7771-3 (ช่วงเวลา 18.30-21.00 น.)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เป็นมหากุศล สร้างความร่มเย็นและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่แผ่นดินไทย
  2. เกิดความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป
  3. สร้างผู้นำในการเป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกภาคส่วน ทั่วประเทศไทย
  4. ผู้เข้าอุปสมบทได้เรียนรู้หลักธรรมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
  2. คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  3. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
  4. สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
  5. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์

ผู้อุปถัมภ์โครงการ

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย

บทความอื่นๆในหมวดนี้