โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย
ทำไมจึงต้องมีการบวช ๑๐๐,๐๐๐ รูป
การบวชถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ชายไทยที่มีอายุครบบวช ต่างก็เลือกที่จะถือครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพื่อที่จะใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ฝึกฝนอบรมตนเองให้เปี่ยมล้มด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้ไว้ ซึ่งเมื่อบวชแล้วผู้บวชจะสามารถนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และเป็นทายาทสืบทอดพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ยืนยงคงอยู่ คู่ผืนแผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน
ในการบวช ผู้บวชจะต้องสละชีวิตที่สะดวกสบาย "บวช" นั้นมาจากคำว่า ปวชะ แปลว่าเว้นจากการกระทำแบบคฤหัสถ์ งดเว้นจากสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ทำให้ใจเราต่ำ สิ่งที่ขัดขวางความก้าวหน้าในชีวิต ชีวิตที่เรียบง่ายของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นการตอกย้ำถึงการแสวงหาความสุข ว่าสุขอื่นใดที่นิ่งไปจากใจหยุดนิ่งนั้นไม่มี ความสุขที่เกิดจากใจที่หยุดที่นิ่งนั้น ก็เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นกิจอันควรกระทำอย่างยิ่งของพระภิกษุสงฆ์นั่นเอง การบวชแสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกตามดำริของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ต้องการเห็นสังคมไทยมีชายไทยที่ได้บวชเรียน ได้เป็นพระแท้ทั้งกาย และใจในทุกๆ หมู่บ้าน กว่าแสนหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อจบโครงการแล้วรูปที่บวชอยู่ต่อก็จะสามารถเป็นเนื้อนาบุญ และเดินธุดงค์พัฒนาวัดร้างทั่วประเทศ ส่วนรูปที่ลาสิกขาก็จะสามารถเป็นคนดี มีศีลห้าเป็นอย่างน้อย ที่จะช่วยจรรโลงระดับศีลธรรมในประเทศให้เฟื่องฟูสืบไป
คณะที่ปรึกษาโครงการบวชพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย
ประธานที่ปรึกษา |
สมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ |
กรรมการที่ปรึกษา
พระวิสุทธาธิบดี |
วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร |
พระพรหมเวที |
วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร |
พระพรหมวชิรญาณ |
วัดยานนาวา |
พระพรหมโมลี |
วัดพิชยญาติการามวรวิหาร |
พระพรหมสุธี |
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
พระวิสุทธิวงศาจารย์ |
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ |
พระพรหมจริยาจารย์ |
วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง |
พระธรรมวโรดม |
วัดทินกรนิมิต |
พระธรรมกิตติวงศ์ |
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร |
พระธรรมราชานุวัตร |
วัดพระแก้ว (จ.เชียงราย) |
พระธรรมเจดีย์ |
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร |
พระธรรมปัญญาภรณ์ |
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ |
พระธรรมคุณาภรณ์ |
วัดสามพระยาวรวิหาร |
พระธรรมปริยัติเวที |
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร |
พระธรรมปิฎก |
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร |
พระธรรมรัตนดิลก |
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร |
พระธรรมโกศาจารย์ |
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร |
พระธรรมธีรราชมหามุนี |
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร |
พระเทพปริยัติสุธี |
วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร |
พระเทพปริยัติเมธี |
วัดชลประทานรังสฤษฎ์ |
พระเทพวีราภรณ์ |
วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา |
พระเทพสุธี |
วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฎร์ธานี |
พระราชปริยัตยาภรณ์ |
วัดเขียนเขต (เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี) |
เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ |
คณะกรรมการจัดงาน
ผู้อุปถัมภ์โครงการ |
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) |
ผู้รับผิดชอบโครงการ |
-
วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
-
คณะสงฆ์ทั่วประเทศ
-
คณะกรรมมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
-
ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถ้มภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
|
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ |
-
คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
-
คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา
-
จังหวัดปทุมธานี
-
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
-
องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
-
กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
-
กรมกิจการพลเรือนทหารบก
-
กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
-
กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
-
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
-
กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
-
สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย
-
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
-
สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
-
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
-
สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
-
สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย
-
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
-
สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
-
สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
-
V-PEACE องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก
-
สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ และเครือข่าย
-
สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
|
กำหนดการ
๑๗ มกราคม ๒๕๕๓ |
ลงทะเบียน |
๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ |
เริ่มการอบรม |
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
พิธีขอขมา |
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
วันบรรพชา |
๘-๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
วันอุปสมบท |
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ |
เข้าร่วมพิธีจุดมาฆประทีปถวายเป็นพุทธบูชาวันมาฆบูชา |
๘ มีนาคม ๒๕๕๓ |
สิ้นสุดโครงการ |