โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย

โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย

ทำไมจึงต้องมีการบวช ๑๐๐,๐๐๐ รูป

การบวชถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ชายไทยที่มีอายุครบบวช ต่างก็เลือกที่จะถือครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพื่อที่จะใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ฝึกฝนอบรมตนเองให้เปี่ยมล้มด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนวทางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้ไว้ ซึ่งเมื่อบวชแล้วผู้บวชจะสามารถนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ ให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และเป็นทายาทสืบทอดพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ยืนยงคงอยู่ คู่ผืนแผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน

ในการบวช ผู้บวชจะต้องสละชีวิตที่สะดวกสบาย "บวช" นั้นมาจากคำว่า ปวชะ แปลว่าเว้นจากการกระทำแบบคฤหัสถ์ งดเว้นจากสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ทำให้ใจเราต่ำ สิ่งที่ขัดขวางความก้าวหน้าในชีวิต ชีวิตที่เรียบง่ายของพระภิกษุสงฆ์นั้นเป็นการตอกย้ำถึงการแสวงหาความสุข ว่าสุขอื่นใดที่นิ่งไปจากใจหยุดนิ่งนั้นไม่มี ความสุขที่เกิดจากใจที่หยุดที่นิ่งนั้น ก็เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นกิจอันควรกระทำอย่างยิ่งของพระภิกษุสงฆ์นั่นเอง การบวชแสนรูปทุกหมู่บ้านทั่วไทยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลกตามดำริของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ต้องการเห็นสังคมไทยมีชายไทยที่ได้บวชเรียน ได้เป็นพระแท้ทั้งกาย และใจในทุกๆ หมู่บ้าน กว่าแสนหมู่บ้านทั่วประเทศ ซึ่งเมื่อจบโครงการแล้วรูปที่บวชอยู่ต่อก็จะสามารถเป็นเนื้อนาบุญ และเดินธุดงค์พัฒนาวัดร้างทั่วประเทศ ส่วนรูปที่ลาสิกขาก็จะสามารถเป็นคนดี มีศีลห้าเป็นอย่างน้อย ที่จะช่วยจรรโลงระดับศีลธรรมในประเทศให้เฟื่องฟูสืบไป

คณะที่ปรึกษาโครงการบวชพระ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย

ประธานที่ปรึกษา สมเด็จพระมหารัชมงคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ

กรรมการที่ปรึกษา

พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร
พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา
พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
พระพรหมสุธี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
พระพรหมจริยาจารย์ วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
พระธรรมวโรดม วัดทินกรนิมิต
พระธรรมกิตติวงศ์ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
พระธรรมราชานุวัตร วัดพระแก้ว (จ.เชียงราย)
พระธรรมเจดีย์ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
พระธรรมปัญญาภรณ์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
พระธรรมคุณาภรณ์ วัดสามพระยาวรวิหาร
พระธรรมปริยัติเวที วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
พระธรรมปิฎก วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
พระธรรมรัตนดิลก วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
พระธรรมโกศาจารย์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
พระเทพปริยัติสุธี วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
พระเทพปริยัติเมธี วัดชลประทานรังสฤษฎ์
พระเทพวีราภรณ์ วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา
พระเทพสุธี วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฎร์ธานี
พระราชปริยัตยาภรณ์ วัดเขียนเขต (เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี)
เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ

คณะกรรมการจัดงาน

ผู้อุปถัมภ์โครงการ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
  • คณะสงฆ์ทั่วประเทศ
  • คณะกรรมมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  • ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถ้มภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
  • คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา
  • จังหวัดปทุมธานี
  • องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
  • องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
  • กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย
  • กรมกิจการพลเรือนทหารบก
  • กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
  • กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
  • สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย
  • กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
  • สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
  • สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
  • สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
  • สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แห่งประเทศไทย
  • ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
  • สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
  • V-PEACE องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก
  • สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ และเครือข่าย
  • สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล

กำหนดการ

๑๗ มกราคม ๒๕๕๓ ลงทะเบียน
๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ เริ่มการอบรม
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ พิธีขอขมา
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ วันบรรพชา
๘-๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ วันอุปสมบท
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เข้าร่วมพิธีจุดมาฆประทีปถวายเป็นพุทธบูชาวันมาฆบูชา
๘ มีนาคม ๒๕๕๓ สิ้นสุดโครงการ

 

บทความอื่นๆในหมวดนี้