กฐินปี 51 กฐินหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร :: Dhammakaya Foundation & Wat Phra Dhammakaya : World Peace through Inner Peace using Meditation Practice  

 

กฐินปี 51 กฐินหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร

กฐินปี 51 กฐินหลวงปู่ พระผู้ปราบมาร

2 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี

เมื่อวัน ออกพรรษา มาถึง นั่นหมายความว่า ฤดูกาลแห่ง มหากาลทานได้ขึ้นเริ่ม เพียงช่วงเวลาสั้นๆ แต่กลับ เป็นช่วงเวลาในการ สั่งสมบุญ มหาศาล ที่ เหล่า พุทธศาสนิกชน ต่างรอคอยกัน จัดงานบุญทอดกฐิน ในทุกวัดทั่วไทย...เช้าวันนี้ ก็เช่นกัน พระ เณร และ ชาวบ้าน ต่างพากันเ ตรียมทำความสะอาด วัดวาอาราม,ช่วยจัดดอกไม้บูชาพระและประดับประดาวัด บ้างก็ ช่วยกัน เอาธง ชาติ ไทย กับ ธงธรรมจักรสีเหลือง ไปปักเรียงราย 2ข้างทาง เพื่อ ต้อนรับ คณะกฐินที่มาจาก แดนไกล ....เจ้าอาวาส ท่านได้เมตตา เทศน์ความหมายของคำว่า กฐิน ในวันพระหนึ่งว่า "...กฐินแปลว่า สะดึง เป็นกรอบไม้ แม่แบบสำหรับทำจีวร เป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม เป็นอริยะประเพณีที่ทำสืบต่อกันมา ถึง สองพันห้าร้อยปีมาแล้ว นับตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธองค์ยังคงมีพระชนม์ชีพอยู่จวบจนถึงปัจจุบัน"

 

 

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ถือโอกาสทำได้ยาก ....” ด้วยความยากนี่เอง ทำให้ มีมหานิสงส์อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ ดังเรื่องราวในสมัยพุทธกาลของพระกัสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีชายผู้หนึ่งซึ่งยากจน ไม่มีแม้แต่ชื่อ ได้ไปอาศัยเศรษฐี ท่านหนึ่ง ทำงานแลกอาหารและน้ำ ด้วยการตัดหญ้า โดยท่านเศรษฐี ตั้งชื่อให้ว่านายติณบาล หลังออกพรรษา ท่านเศรษฐีต้องการทำบุญกฐิน จึงแจ้งข่าวให้บริวารทราบ เพื่อให้ได้ร่วมบุญ นายติณบาล เกิดจิตศรัทธา อยากทำบุญกฐินด้วย แต่ ตัวเอง ไม่มีทรัพย์สิน ใดๆ เลย นายติณบาลจึงตัดใจ สละเสื้อ ผ้า ชุดเดียวที่มีอยู่ และตัวเองนำใบไม้มาเย็บเป็นผ้านุ่งกันอุจาด นายติณบาลได้ เอาเสื้อ ผ้า ไปขายที่ ตลาด ท่ามกลาง เสียงหัวเราะเยาะของชาวบ้าน จนได้เงินมา เพียง 5สก ซึ่งเงินจำนวนนี้ ซื้อ ได้เพียงแค่ เข็มกับด้าย เท่านั้น นายติณบาล จึงนำเข็มกับด้าย มาเป็นบริวารกฐินแก่ ท่านเศรษฐีด้วยใจที่ร่าเริงบิกบาน ท่านเศรษฐีเห็นดังนั้นก็เกิดความปีติ และได้อนุโมทนากับนายติณบาล ทำให้ท้าวสักกเทวราชบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทนไม่ได้ ว่ามีคนหัวใจทองคำอย่างนี้ด้วยหรือ ได้มาปรากฏกายที่บ้านของนายติณบาล และให้ขอพร 4 ประการ นายติณบาลมิได้ขอพรให้ตัวเองร่ำรวยแต่อย่างใด แต่กลับขอว่า ขออย่าให้เขาได้ข่มเหงสตรีทั้งด้วยกาย วาจา ใจ,ขออย่าได้มีความตระหนี่ในการทำทาน, ขออย่าได้มีคนพาลเป็นมิตร, ขอให้ได้ภรรยาทีดีมีศีลมีธรรม ท้าวสักกเทวราช จึงอนุโมทนาและให้พรทั้ง 4 ประการจงสำเร็จ ข่าวการทำทานครั้งนี้ได้เลื่องลือ จนพระราชาทราบจึงเรียกตัวนายติลบาลมาตรัสถาม และขอแบ่งส่วนบุญ นายติณบาลก็แบ่งส่วนบุญให้ พระราชาจึงพระราชทานทรัพย์ให้ ตั้งแต่นั้นมา นายติณบาลจึงกลายเป็นเศรษฐี ด้วยผลบุญในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อใกล้จะละโลก เขาได้ระลึกถึงบุญที่ได้ร่วมทอดกฐิน คตินิมิตก็ใสสว่าง เมื่อละโลกแล้ว ได้ไปเกิดบนวิมานชั้นดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันตระการ จนถึงภพชาติสุดท้าย ได้มาบังเกิดในสมัยของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดเป็นชาย ออกบวชและได้บรรลุอรหัตตผลในที่สุด ด้วยอำนาจบุญที่ทำมาดีแล้ว

 

 รูปหล่อทองคำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร

 

ในช่วงกาลทานของปีนี้ นับเป็นบุญพิเศษ และเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของวัดพระธรรมกาย ที่จะได้ทอดกฐินสามัคคี บูชาธรรมหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) พระผู้ปราบมาร ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 โดย มีรูปหล่อทองคำ เป็นองค์แทนของท่าน บุญใหญ่ครั้งนี้ จะมีอานิสงส์ดุจเดียวกับสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เพราะท่านได้เข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับพระธรรมกาย นับอสงไขยพระองค์ไม่ถ้วน ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่จึงได้กล่าวอมตวาจาเอาไว้ว่า “ใครก็ตามที่ได้ทำบุญกับท่าน ไม่ว่าตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือว่าละสังขารไปแล้ว ล้วนได้บุญเท่ากัน” สำหรับท่านเจ้าภาพที่ได้ร่วมบุญทอดกฐินหลวงปู่ บูชาครู พระผู้ปราบมารในครั้งนี้ จะได้รับการจารึกชื่อ-สกุล ไว้ในแผ่นทองเพื่อประดิษฐานในแผ่นฌาน ขององค์หลวงปู่ทองคำ “ฌาน” คือสภาวะของจิตอันสงบ ประณีตที่เกิดจากการทำสมาธิ เพื่อเป็นฐานรองรับความสุข และดวงปัญญาอันสว่างไสว ซึ่งจะบังเกิดขึ้นแก่ผู้ปฎิบัติตั้งแต่เบื้องต้นไปจนถึงการเป็นพระอริยเจ้า ดังนั้นทุกท่านจะได้รับการปกป้องคุ้มครองให้อยู่ในฌานของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกระแสแห่งความสุข ดังที่หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่า“...มีความสุขนิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌานอะไรจะไปสู้ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะสุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุข หยุดนิ่ง..” “สุขในฌาน พระผู้ปราบมาร มั่งคั่ง มั่นคง สุขสมปรารถนา”

กำหนดการวันทอดกฐินหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย

พิธีภาคเช้า  
08:30 น. สาธุชนร่วมสวดมนต์ทำวัตรเช้า
09:30 น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานสงฆ์ นำบูชาพระรัตนตรัย / นำนั่งสมาธิ
10:45 น. พิธีกล่าวคำถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน
11.00 น. พักรับประทานอาหาร
พิธีภาคบ่าย  
12.15 น. รายการพิเศษ “กล่าวสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย”
13.15 น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานสงฆ์ เดินทางมาถึงศูนย์กลางพิธี
13.20 น. พิธีอัญเชิญ “ผ้าไตรอัครบรมจักรพรรดิ”
14.00 น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานสงฆ์นำนั่งสมาธิ
14.40 น. พิธีทอดกฐินอัครบรมจักรพรรดิ
15.30 น. ถวายปัจจัยบูชาธรรมแด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ให้โอวาท
16.30 น. คณะสงฆ์มอบพระของขวัญ รุ่น “รวยโคตรโคตร x 2” แก่สาธุชนที่มาร่วมงาน ทางเข้า 1 และ 5 (สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมพิธีในสภาธรรมกายสากล และสวมชุดขาวล้วนมาร่วมพิธี)
17.15 น. พิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์ และบูชามหาปูชนียาจารย์
17.45 น. เสร็จพิธี
พิธีกรานกฐิน ณ อุโบสถ
18.00 น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และคณะสงฆ์ ร่วมพิธีกรานกฐิน ณ อุโบสถ

หมายเหตุ: จากวันนี้จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี เปิดให้เข้าสักการะ 4 รอบ. คือ 9-10.30 , 12.30-14.30, 14.30-16.30, 16.30-19.00 ยกเว้นวันอาทิตย์ เปิด 11-12.30 น. แขก ต่างประเทศสามารถร่วมงานได้โดยรับฟังช่องสัญญาณแปล ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย โดยติดต่อขอยืมอุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณได้ที่ เสา C18 สภาธรรมกายสากล

ประมวลภาพพิธีทอดกฐิน ประจำปี พ.ศ.2551 ณ วัดพระธรรมกาย

บทความอื่นๆในหมวดนี้